วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567

‘นภินทร’ จับมือ MOC Biz Club ส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและเพิ่มโอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการ Micro SMEs ในงาน MOC Biz Club Fair 2024 By DBD

 ‘นภินทร’ จับมือ MOC Biz Club ส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและเพิ่มโอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการ Micro SMEs ในงาน MOC Biz Club Fair 2024 By DBD

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดงาน ‘MOC Biz Club Fair 2024 By DBD’ ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 2 กันยายน 2567 ณ ลานโปรโมชัน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายและเพิ่มโอกาสทางการค้า มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าใหม่ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) และผู้ประกอบการเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ที่อยู่ในการส่งเสริมสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์



นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโยบายในการผลักดันให้ธุรกิจ SME มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 40% ต่อ GDP ภายในปี 2570 จากปัจจุบันอยู่ที่ 35.2% จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจท้องถิ่นทั่วประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองและมีการช่วยเหลือพึ่งพากัน โดยส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงขณะนี้มีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 14,000 ราย และมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) และผู้ประกอบการเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ทั่วประเทศ ให้สามารถปรับตัวและพัฒนาก้าวทันการค้ายุคใหม่ ช่วยเพิ่มความสามารถในการตลาดและเพิ่มรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายและขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน จนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ดำเนินการพัฒนากลุ่มเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ใน 3 ส่วนสำคัญ คือ 1) สร้างเครือข่ายธุรกิจ สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มและจับคู่พันธมิตรธุรกิจ     ทั้งภายในพื้นที่และระหว่างพื้นที่ 2) พัฒนาเครือข่ายธุรกิจ โดยการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์การประกอบธุรกิจระหว่างกัน พัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มช่องทางการตลาด และ 3) เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  


รมช.พณ.กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงาน ‘MOC Biz Club Fair 2024 By DBD’ ในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 2 กันยายน 2567 ณ ลานโปรโมชัน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย 1) การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) และผู้ประกอบการเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club จากทั่วประเทศ กว่า 50 ราย มาร่วมออกบูธแสดงและจำหน่ายสินค้า 2) การเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) โดยมีนักธุรกิจกลุ่ม Trader/Buyer หรือผู้แทนจำหน่ายที่มีศักยภาพเข้าร่วมเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการ ตั้งเป้าเกิดการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 50 คู่เจรจา


ติดตามกิจกรรมของกองธุรกิจภูมิภาคและชุมชน ได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://www.dbd.go.th


ADVERTISEMENT

หรือสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2547 4445 และ สายด่วน 1570

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ผสานพลัง!! ขนมปังโกลด์เบรด สปอนเซอร์หลักร่วมกับ Clover Solution และนมแมกโนเลียกิงโกะ เสริมทัพด้วย TESF และ สพฐ.จัดการแข่งขัน ROV ชิงถ้วยโครงการ Esports What? School Tour 2024 Grand Final!

 ผสานพลัง!! ขนมปังโกลด์เบรด สปอนเซอร์หลักร่วมกับ Clover Solution และนมแมกโนเลียกิงโกะ เสริมทัพด้วย TESF และ สพฐ.จัดการแข่งขัน ROV ชิงถ้วยโครงการ Esports What? School Tour 2024 Grand Final!

 

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ แกรนด์สเตชั่น ชั้น 2 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอซ์แลนด์ ได้จัดงานชิงแชมป์ในโครงการ Esports What? School Tour 2024 Grand Final ขึ้น โดยมีขนมปังโกลด์เบรด และแมกโนเลีย กิงโกะ เป็นผู้สนับสนุนหลักของโครงการ ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเฟ้นหาสุดยอดแชมป์ตัวจริงเกม ROV ในระดับมัธยม จากการเดินทางคัดเลือกทีมผู้ชนะเลิศทั้ง 20 โรงเรียนตลอดปี 2024 เพื่อมาแข่งรอบ Grand Final ชิงถ้วยรางวัลอันทรงเกียรติพร้อมเกียรติบัตร และทุนการศึกษารวมกว่า 440,000 บาท  

 


โครงการได้เริ่มต้นซีซั่นที่ 2 ขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2023 มีการจัดงานแถลงข่าวพร้อมสื่อมวลชนและบรรดาแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานอย่างคับคั่ง โดยโครงการยังคงมุ่งสร้างองค์ความรู้ทางด้านกีฬา อีสปอร์ต ให้เป็นที่รู้จัก

 


สำหรับการดำเนินงานตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา กับ 20 โรงเรียนที่ได้เดินทางมอบสาระความรู้ และความบันเทิงจากการแสดงของนักเรียนที่มาโชว์ทักษะด้านดนตรีและโคฟเวอร์แดนซ์ ทำให้เกิดการต่อยอดเป็นโครงการ Cover Dance & Music Band What? School Tour 2024 เพื่อจัดแข่งขันในกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จนได้รับการตอบรับจากทุกโรงเรียนเป็นอย่างดี และแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่มีความพยายามสร้างเวทีให้เยาวชนมีพื้นที่แสดงความสามารถ ซึ่งทีมที่ชนะทั้งวงดนตรีและโคฟเวอร์แดนซ์ ก็ได้เตรียมมาจัดแสดงให้ผู้ชมอย่างเต็มที่ในวันดังกล่าวด้วย

นอกจากนั้นความพิเศษในซีซั่น 2 ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ทางโครงการได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มอบสิทธิ์เข้ารับทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ได้รับแชมป์ และรองแชมป์ 2 อันดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการนี้สามารถต่อยอดทางการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง

การแข่งในรอบ Grand Final นี้ ยังคงเต็มไปด้วยบรรยากาศการต่อสู้ที่ดุเดือดของเหล่านักกีฬาขาสั้น เพื่อเป็นสุดยอดทีมโรงเรียนที่นอกจากจะได้รับถ้วยแชมป์ไปครองแล้ว ยังเป็นการปิดโครงการครั้งนี้อย่างสมบูรณ์

 


โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณปิยะวรรณ นราธรรม ช่วยอำนวยการสายงานบริหาร บริษัท เอ็น.ซี.เอส.โกลด์เบรด จำกัด ผู้สนับสนุนหลักโครงการอย่างเป็นทางการได้กล่าวถึงความประทับใจที่เกิดขึ้นในงาน Esports What? School Tour 2024 ครั้งนี้ว่า “วันนี้อย่ามองแค่ว่าใครเป็นผู้สำเร็จ แต่ให้มองว่านี่คือเวทีแรกที่น้องๆ ได้มีโอกาสได้มาแสดงฝีมือ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านี่ไม่ใช่เวทีสุดท้าย และไม่ใช่ปีสุดท้ายของโครงการนี้ พวกเราในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ใจดี คอยซัพพอร์ตกิจกรรมเหล่านี้ ร่วมกับทางราชการและทางโรงเรียนรวมถึงทางโครงการที่จะเกิดขึ้นได้อีกในปีถัดๆ ไป อยากให้เกมไม่ใช่ผู้ร้าย แต่อยากให้เป็นโอกาสของน้องๆ เป็นกิจกรรมที่จะสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในวงการและประเทศไทย ”

 

​โครงการในซีซั่น 2 นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีอย่าง บริษัท เอ็น.ซี.เอส. โกลด์เบรด จำกัด ผู้ผลิตขนมปังโกลด์เบรด สปอนเซอร์หลัก และบริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด สินค้าแมกโนเลียกิงโกะ ที่พยายามผลักดันอย่างต่อเนื่อง และในซีซั่น 2 นี้ ได้มี 2 หน่วยงานที่เข้ามาเสริพทัพให้โครงการแข็งแกร่งขึ้นนั่นก็คือ สมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกีฬาอีสปอร์ตระดับประเทศ  และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับโรงเรียนเป็นอย่างดี ทำให้การดำเนินงานมีความราบรื่นตลอดโครงการ ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับกีฬาอีสปอร์ต ในประเทศให้มีภาพลักษณ์ที่ดี ลบภาพเด็กติดเกมแบบเดิมๆ แทนที่ด้วยองค์ความรู้และโอกาสที่เข้าถึงในอาชีพในอนาคตได้ 

​ท้ายที่สุดหวังอย่างยิ่งว่าโครงการดีๆ แบบนี้จะยังคงได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีอย่างต่อเนื่องจนเกิดซีซั่น 3  ซึ่งยังมีโรงเรียนจำนวนมากที่ยังรอคอยกิจกรรมดีๆ แบบนี้ เพื่อส่งเสริมน้อง ให้มีโอกาสที่ดีกับการเรียนรู้บนเส้นทางสาย อีสปอร์ต อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 


โปรดติดตามการแข่งขันโครงการ Esports What? School Tour ในครั้งต่อไปได้ที่เพจ ขนมปังโกลด์เบรด : Clover Solution, GoldBreadและ Esports What? School Tour

ศุภมาสฯ เน้นย้ำบทบาทวิทยาศาสตร์ และวิจัยและนวัตกรรม ช่วยไทยก้าวข้ามวิกฤติ สร้างอนาคตที่มั่นคง ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567

ศุภมาสฯ เน้นย้ำบทบาทวิทยาศาสตร์ และวิจัยและนวัตกรรม ช่วยไทยก้าวข้ามวิกฤติ สร้างอนาคตที่มั่นคง  ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567

วันที่ 26 สิงหาคม 2567 นางสาวศุภมาสอิศรภักดี รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” นำเข้างาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo)“ ครั้งที่ 19 ภายใต้แนวคิด "สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน" พร้อมมอบโล่และประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ โดยมี รมว.อว. ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ


นางสาวศุภมาส อิศรภักดี กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามความท้าทายในยุคปัจจุบัน การลงทุนในด้านนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนากำลังคน สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล


ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณและสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา



ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง กล่าวว่า วช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั่วประเทศ จัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) ครั้งที่ 19 ขึ้น ภายใต้แนวคิด "สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน" เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 983 ผลงาน ผ่านนิทรรศการและการประชุมสัมมนาหลากหลายหัวข้อ โดยมีไฮไลท์คือเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการมอบรางวัลให้แก่หน่วยงานและนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น พิธีเปิดงานจะจัดขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานนี้เป็นเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิจัยของไทย และเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการวิจัยในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน


มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 ถือเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมผลงานวิจัยและนวัตกรรมชั้นนำของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคม ภายในงาน มีผลงานมาจัดแสดงกว่า 983 ผลงาน อาทิ หุ่นยนตยางพาราระบบเคเบิ้ล  ทุ่นลองติดตามมวลน้ำด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุและแอพพลิเคชัน ทำนายการเคลื่อนตัวของขยะ อัตลักษณ์สิ่งทอเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์ สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย, ผลิตภัณฑ์ยาอดยาบ้าชนิดเม็ด, พลิกฟื้นทุนวัฒนธรรมของเชียงราย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ UNESCO, น้ำปลาแท้ลดโซเดียมและโพแทสเซียม 40%, ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปปไทด์จากหอยเชอรี่ สถาบันปัญญาภิวัฒน์, หัวเชื้อน้ำมันดีเซล ลดฝุ่น PM2.5, สะตอสะเด็ดน้ำ เป็นต้น

การจัดงานในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 


ทั้งนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนได้ที่  https://researchexporegistration.com/  ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น


วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567

‘ธิติวัฐ’ เผยรัฐบาลเดินหน้าต่อยอดผู้ประกอบการ SME สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน

 ‘ธิติวัฐ’ เผยรัฐบาลเดินหน้าต่อยอดผู้ประกอบการ SME สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน

วันนี้ (26 สิงหาคม 2567) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธานในการเปิดงานสร้างเครือข่ายและประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือการขับเคลื่อนพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green SME Forum 2024: Assembling the path to Sustainability) ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจของ SME เข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมระบบนิเวศ และสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อการปรับตัวให้สามารถรองรับผลกระทบจากมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งในและต่างประเทศ กระบวนการขอรับรองมาตรฐาน กระบวนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนกระบวนการเข้าสู่ตลาด รวมถึงการผลักดันให้ SME สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึง

ภายในงานมีกิจกรรมที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ได้แก่ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและเชื่อมโยงผู้ประกอบการ SME ใน Supply Chain เพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจด้านมาตรฐานสินค้าและข้อมูลผู้ให้บริการที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ระหว่าง สสว. กับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กิจกรรมเสวนา และจัดนิทรรศการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวจากหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรวมกว่า 15 หน่วยงาน กับ 6 Jigsaw ได้แก่ 1 : Green Transition Facilitator (หน่วยงานสนับสนุนการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว) 2 : Green Standard (หน่วยงานด้านมาตรฐานสินค้าและบริการสีเขียว)     3 : Green Enterprise Indicator - GEI (แนวทางการพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการสีเขียว) 4 : Green Financing (หน่วยงานด้านการสนับสนุนแหล่งเงินทุน) 5 : Green Incentives (หน่วยงานด้านสิทธิประโยชน์) 6 : Market Access and Global Value Chain (หน่วยงานด้านการส่งเสริมตลาด)

โดย ดร.ธิติวัฐ กล่าวปิดท้ายว่า ความสำเร็จของงานในวันนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการร้อยเรียงนโยบายและกลไกการส่งเสริมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ของประเทศ ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนเข้าสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการบูรณาการ   การเชื่อมโยงการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคีภาคเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ ให้เกิดความสอดคล้อง ต่อเนื่อง เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นภาพต่อของการส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจสีเขียวได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงในอนาคตต่อไป

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สมุทรปราการ ประสานพลัง ทัพบก ราชทัณฑ์​ จิตอาสาร้อยเอ็ด ซีพีเอฟ ลงพื้นที่ลุยจับหมอคางดำทำปลาร้า

 สมุทรปราการ ประสานพลัง ทัพบก ราชทัณฑ์​ จิตอาสาร้อยเอ็ด ซีพีเอฟ ลงพื้นที่ลุยจับหมอคางดำทำปลาร้า

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด​ หรือ ซีพีเอฟ สนับสนุนกรมประมงขจัดและควบคุมปลาหมอคางดำใน 12 จังหวัด  รับซื้อทำปลาป่นแล้วกว่า 750,000 กิโลกรัม ยังเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจจับปลาออกจากแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง  พร้อมลงพื้นที่รวมพลังกับจังหวัดสมุทรปราการ กรมประมง กองทัพบก กรมราชทัณฑ์ ปฏิบัติการจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ กองทัพบกบางปู พร้อมมีอาสาสมัครกว่า 100 คนเดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมทอดแหจับปลานำไปทำปลาร้า หนุนประชาชน “กิน” พิชิต “หมอคางดำ”



นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในกิจกรรม “ลงแขกลงคลองตัดวงจรการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำเพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศจังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 2” โดยมีนายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมประมง ร่วมกับอาสาสมัครจากจังหวัดร้อยเอ็ด และเรือนจำกลางสมุทรปราการ ลุยกำจัดปลาหมอคางดำบริเวณแหล่งน้ำพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ กองทัพบกบางปู ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สามารถจับปลาหมอคางดำขึ้นมาได้ถึง 1,101 กิโลกรัม อาสาสมัครจากร้อยเอ็ดจะนำปลากลับไปทำปลาร้าต่อไป นอกจากนี้ ปลาที่จับได้ยังถูกส่งต่อให้การยางแห่งประเทศไทยเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพสำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง ส่งโรงงานปลาป่น มอบให้เรือนจำกลางจังหวัดสมุทรปราการใช้ปรุงเป็นอาหารให้ผู้ต้องขัง และแจกจ่ายบริโภคในครัวเรือน 


นายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมประมง ในฐานะโฆษกกรมประมง เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ กระจายไปในพื้นที่ 19 จังหวัด กิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้มาตรการการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำของกรมประมง ตั้งเป้าจับให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน ซึ่งที่ผ่านมาทุกภาคส่วนได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันหยุดวงจรการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในหลากหลายวิธี สำหรับในเดือนสิงหาคมกรมประมงสามารถจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำได้แล้วกว่า 610,000 กิโลกรัมหรือมากกว่า 600 ตัน


นายสมพร เกื้อสกุล ประมงจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า สมุทรปราการเป็นเมืองแห่งผลผลิตด้านประมง มีกำลังการผลิตสัตว์น้ำประเภทกุ้งทะเล สูงถึง 1,400 ตันต่อปี สร้างมูลค่า 210 ล้านบาท การระบาดของปลาหมอคางดำส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมงและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ  ที่ผ่านมาจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจในการออกปฏิบัติการกำจัดปลาหมอคางดำ ส่งผลให้ในขณะนี้สถานการณ์การระบาดของปลาหมอคางดำลดจำนวนลงได้ และการจัดกิจกรรมลงแขกลงคลองอครั้งนี้ เป็นความพยายามในขจัดปลาหมอคางดำสิ้นซาก รักษาสมดุลระบบนิเวศ  ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนในพื้นที่และอาสาสมัครจากร้อยเอ็ดมาช่วยกันลงแรงเพื่อจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ



ด้านนายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิจและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทสนับสนุนกรมประมงจำกัดปลาหมอคางดำโดยเร็วที่สุด บูรณาการขับเคลื่อน 5  โครงการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทั้งการร่วมรับซื้อปลาหมอคางดำผลิตปลาป่น การมอบปลานักล่าเพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำกำจัดลูกปลาชนิดนี้ตามแนวทางกรมประมง รวมถึงร่วมกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ในพื้นที่หลายจังหวัด นอกจากสมุทรปราการแล้ว ซีพีเอฟได้ร่วมสนับสนุนการจับปลาใน สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง เพชรบุรี นครปฐม ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช รวม 12 จังหวัด  และพร้อมขยายความร่วมมือกับจังหวัดอื่นๆ ต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร แม็คโครจิตอาสา สาขาแพรกษา นำขนมและน้ำดื่มมาแจกให้กับผู้ร่วมกิจกรรมอีกด้วย

ซีพีเอฟแสดงความมุ่งมั่นบูรณาการขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุกเพื่อร่วมแก้ปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างจริงจัง ประกอบด้วย โครงการร่วมกับกรมประมงรับซื้อปลาเพื่อทำปลาป่น 2,000,000 กิโลกรัม ที่ปัจจุบันร่วมกับโรงงานปลาป่นในสมุทรสาครจัดซื้อปลาไปแล้วกว่า 750,000 กิโลกรัม โครงการปล่อยปลานักล่า 200,000 ตัว จนถึงวันนี้ปล่อยปลากะพงลงแหล่งน้ำแล้ว 64,000 ตัว รวมถึง โครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำปลาไปใช้ประโยชน์ เช่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และโครงการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและมหาวิทยาลัยในการศึกษาวิจัยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเพื่อตัดวงจรและควบคุมการแพร่พันธุ์ของปลาชนิดนี้ในระยะยาว โดยมีมหาวิทยาลัยแสดงเจตนารมณ์ร่วมโครงการวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้./ 


วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กรมทรัพย์สินทางปัญญาปลื้ม ! ผลการตอบรับสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว ภายในงาน IP X Local Market สร้างยอดทะลุเป้า

 กรมทรัพย์สินทางปัญญาปลื้ม !  ผลการตอบรับสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว ภายในงาน IP X Local Market สร้างยอดทะลุเป้า

 


​​กรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยความสำเร็จเกินคาดโซนงาน IP X Local Market ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน “IP FAIR 2024” THE X POWER เงินสะพัดร่วม 10 กว่าล้านบาท สร้างมูลค่าสร้างรายได้ให้กับชุมชน

 



​​นายกิตติวัฒน์  ปัจฉิมนันท์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า สำหรับโซนงาน IP X Local Market ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน “IP FAIR 2024” THE X POWER : สุดยอดความคิด นำเศรษฐกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 16 - 18 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ชั้น G ได้รับผลตอบรับเกินคาดเกิดยอดจำหน่ายสินค้าและเจรจาธุรกิจ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการกว่า 10 ล้านบาท



​​สำหรับงานนี้ กรมฯ ได้คัดเลือกผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาโครงการพัฒนาต่อยอดสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 25 รายจาก 5 จังหวัด มาจัดแสดงและจำหน่าย ตลอด 3 วันมีผู้เข้าชมกว่า 2,000 ราย ยอดเจรจาธุรกิจกับห้างสรรพสินค้า และแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ SHOP MANIA สร้างยอดจำหน่ายภายในงานกว่า 10 ล้านบาท โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหัตถกรรม ประเภทงานจักสาน และงานผ้า รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งกิจกรรมการเจรจาธุรกิจก็ถือเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยรับทราบเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการวางจำหน่ายสินค้าให้ห้างสรรพสินค้า และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้สามารถเติบโตต่อไป

​​นายกิตติวัฒน์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา กรมฯ ได้ส่งเสริมสินค้าชุมชน

ในแหล่งท่องเที่ยวให้ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้เพิ่มมูลค่า    สร้างรายได้ให้กับชุมชน ผ่านโครงการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 8 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครนายก ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ราชบุรี นครสวรรค์ และสมุทรสงคราม โดยมีสินค้าท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาไปแล้วทั้งสิ้น 83 สินค้า และได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์




​​ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีแผนเดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชนด้วยทรัพย์สินทางปัญญาให้ครอบคลุมจังหวัดท่องเที่ยวหลักและรองทั่วประเทศ โดยหวังให้ผู้ประกอบการมีทรัพย์สินทางปัญญา และนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้สร้างรายได้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

…………………………………….

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

สิงหาคม 2567

 

BEDO สร้างโอกาส สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน ชวนชิม และช้อป ในงาน "สกล Style by BEDO"

BEDO  สร้างโอกาส สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน ชวนชิม และช้อป ในงาน "สกล Style by BEDO" 

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO  จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างโอกาสทางการตลาด การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และบริการจากความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน ภายใต้ชื่อ "สกล Style by BEDO" เลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร  จัดขึ้น 23-25 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าเจเจ มอลล์ จตุจักร  

        นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ  ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เราเป็นหน่วยงานซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy) และพัฒนาเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน  จัดงาน “สกล Style By BEDO” เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่โดดเด่นของจังหวัดสกลนคร เป็นการสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ผลการดำเนินงานของ BEDO ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากชีวภาพต่อสาธารณชนทั่วไป  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จะเป็นการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากความหลากหลายทางชีวภาพ จาก 10 ชุมชน จังหวัดสกลนคร ได้แก่


1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมครามและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตำบลนาซอ อำเภอวานรนิวาส

2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาเชือก (มูลควาย) ตำบลแร่ อำเภอพังโคน

3. วิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้บ้านคึม (ทอเสื่อผือนา) ตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย

4. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านคำข่า ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม

5. วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามบ้านอูนดง - หนองไชยวาลย์ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม

6. วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮด ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก

7. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแปรรูปผ้าขาวม้าบ้านขัวก่าย ตำบลขัวก่าย อำเภอวานรนิวาส

8. วิสาหกิจชุมชนแปรรูปน้ำผลไม้โนนหัวช้าง ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน

9. วิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าชุมชน 2 ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย

10. ร้านครามสกล ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร







ภายในงานพบกับผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สินค้าเด็ดจังหวัดสกลนคร อีกทั้งสิทธิพิเศษมากมาย ร่วมอุดหนุนสินค้าในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตได้พบปะผู้บริโภค พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า นำไปสู่การพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความความต้องการของผู้บริโภค ตามปณิธานของ BEDO 

ผู้สนใจสามารถมาชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์  ภายในงาน "สกล Style by BEDO" จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2567 ระยะเวลา 3 วัน ณ ลานกิจกรรมชั้น G ศูนย์การค้า เจเจมอลล์ จตุจักร