วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567

”สุชาติ“ เร่งผลักดัน ”BIMSTEC FTA“ ในเวทีระดับภูมิภาคร่วม 7 ประเทศ ณ กรุงนิวเดลี เพื่อประโยชน์ที่ไทยจะได้ “ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด”

 ”สุชาติ“ เร่งผลักดัน ”BIMSTEC FTA“ ในเวทีระดับภูมิภาคร่วม 7 ประเทศ ณ กรุงนิวเดลี เพื่อประโยชน์ที่ไทยจะได้ “ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด”

รมช.พณ. สุชาติ ขึ้นเวทีผลักดัน BIMSTAC FTA (บิสเทค เอฟทีเอ) ให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อจะเป็นหนึ่งในความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และไทยจะได้ประโยชน์จากการร่วมกันทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอ่าวเบงกอล และเร่งขยับตัวเลข GDP ของสมาชิกทั้ง 7 ประเทศให้เติบโต สู่เป้าหมายทางเศรษฐกิจเดียวกัน  ทั้งขอให้ “เมียนมา” ปลดล๊อค ผ่อนคลายกฎระเบียบการขอใบอนุญาตนำเข้าให้กับสินค้าไทย




นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมงาน “BIMSTEC Business Summit” ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 11.15 น. (ประเทศไทย) และได้เปิดเผยว่า “ ในวันนี้ผมได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม เวชยชัย ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน

“BIMSTEC Business Summit” ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคและมีความสำคัญสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมร่วมกันกับสมาชิกบิมสเทคซึ่งอยู่ในภูมิภาคอ่าวเบงกอลทั้งหมด 7 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย ภูฏาน เนปาล เมียนมา ศรีลังกา และไทย โดยมีประชากรรวมกันถึง 1,800 ล้านคน 



โดยความสำคัญในการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ผมได้ ร่วมกล่าวว่าปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ การบังคับใช้ความตกลง “BIMSTEC FTA” โดยเร็ว จะเป็นแรงขับเคลื่อนการบูรณาการทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคบิมสเทค ได้อย่างไร” ซึ่งผมได้ใช้โอกาสในเวทีนี้ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกบิมสเทค เร่งสรุปผลการเจรจา FTA ให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด ซึ่งชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะเป็นการขับเคลื่อนการบูรณาการทางเศรษฐกิจของภูมิภาคครั้งใหญ่ ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน“ 

“ซึ่งหากผลของความสำเร็จในการทำ BIMSTEC FTA ได้สำเร็จ ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญในเอเซียใต้ จะได้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มกันของประเทศในภูมิภาคอ่าวเบงกอล ที่มีตลาดส่งออกที่ใหญ่ อย่างอินเดีย เป็นไปตามนโยบายของท่านรองนายกฯภูมิธรรม ที่จะเปิดตลาดใหญ่อินเดีย ให้กับผู้ประกอบการไทย” นายสุชาติฯ กล่าวทิ้งท้าย

นอกจากนี้ ในการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ไทยจะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมต้อนรับการเยือนของผู้นำประเทศสมาชิก ที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 กันยายน 67  ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำแบบ Onsite ครั้งแรกในรอบ 6 ปี โดยจะมีการเห็นชอบ Bangkok Vision 2030 ตามที่ไทยได้เสนอ เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือของบิมสเทคสู่การเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่ง ยั่งยืน ฟื้นคืน และเปิดกว้าง ภายในปี 2573 “


นายสุชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ก่อนเข้าร่วมงาน ผมได้พบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เมียนมา (นายมินน มินน) ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในประเด็นที่ไทยขอให้เมียนมาพิจารณาผ่อนคลายกฎระเบียบการขอใบอนุญาตนำเข้าให้กับสินค้าไทย ตลอดจน มาตรการ ห้ามนำเข้าสินค้าทางบกเป็นการชั่วคราวในสินค้า ได้แก่เครื่องดื่มและนมข้น รถยนต์ ปูนซีเมนต์ซึ่งเมียนมาเริ่มใช้มาตรการตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ รวมถึงผ่อนคลายกฎระเบียบอัตราแลกเปลี่ยนรายได้จากการส่งออก (Export Earning) ให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการค้าและการลงทุน  ซึ่งรมช.พาณิชย์เมียนมา ยินดีที่จะให้ความร่วมมือตามที่ไทยขอ”

ปัจจุบันไทยมีความตกลง FTA ทวิภาคี กับประเทศสมาชิก ได้แก่ FTA ไทย-อินเดีย , อาเซียน-อินเดีย (ไทยเป็นสมาชิก) 

FTA ไทย-ศรีลังกา (คาดว่าจะบังคับใช้ 1 ม.ค.68) FTA ไทย-ภูฏาน (คาดว่าจะสรุปผลได้ภายในปี 68) ไทย-บังกลาเทศ (ลงนามแสดงเจตจำนงเริ่มเจรจา FTA ภายในปี 68) ทั้งนี้ไทยพร้อมที่จะสนับสนุนการเจรจาทบทวนการค้าสินค้าภายใต้อาเซียนอินเดีย FTA ให้มีการสรุปผลสำเร็จได้ภายในปี 2568



สถิติการค้า ปี 2566 การค้าไทย-บิมสเทค มีมูลค่า 25,191.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกของไทยไปบิมสเทคมูลค่า16,023.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าของไทยจากบิมสเทคมูลค่า 9,168.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 6,855.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

สินค้าส่งออกสำคัญของไทย (2566) ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง และเครื่องดื่ม ตามลำดับ

สินค้านำเข้าสำคัญของไทย (2566) ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตามลำดับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สพพ. หารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินความร่วมมือกับ สปป.ลาว ด้านโครงการน้ำประปา

  สพพ. หารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินความร่วมมือกับ สปป.ลาว ด้านโครงการน้ำประปา   เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568  นายกีรติ เวฬุวัน รองผู้อำนวยการ...