SETA 2024 และ SustainAsia Week 2024 มหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย อัปเดตเทรนด์พลังงานกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก จุดประกายความหลงใหลในความยั่งยืน หนุนไทยเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero
ประเทศไทยพร้อมเปิดบ้านรับนานาชาติ โชว์ศักยภาพการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในงานสัปดาห์แห่งความยั่งยืน SustainAsia Week 2024 ภายใต้แนวคิด “Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy” ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567 จัดเต็มการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีด้านพลังงานและการขนส่งยุคใหม่สุดล้ำ และการประชุมสัมมนาวิชาการเกาะติดเทรนด์สุดฮอตของโลก ไฮไลท์สำคัญ การประชุม “Asia CCUS Network Forum” ครั้งที่ 4 ผลักดันเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศในภูมิภาค พร้อมเปิดเวที “โครงการขับเคลื่อน มองไกล เพื่อชุมชนที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด” หนุนท้องถิ่นมีส่วนร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ
โดยรัฐบาลไทยนำโดยนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน มุ่งมั่นผลักดันประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาดตามข้อตกลงของการประชุมระดับผู้นำของรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2065
ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล ประธานการจัดงาน SustainAsia Week 2024 และ Sustainable Energy Technology Asia 2024 หรือ SETA 2024 กล่าวว่า การจัดงาน SustainAsia Week 2024 เป็นโอกาสที่ไทยและนานาชาติจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดและไฟฟ้าสีเขียว เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ลดมลพิษ และสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและเศรษฐกิจ โดยมี บริษัท แกท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพลังงาน สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรุงเทพมหานคร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้จัดเตรียมงานมหกรรมด้านพลังงานครั้งยิ่งใหญ่นี้
“SustainAsia Week 2024 เป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ในยุคที่อุตสาหกรรมพลังงานกำลังเผชิญกับความท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต และผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ทั้งนี้ หลังปี ค.ศ. 2040 เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนฯ (CCS) และเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอน การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บก๊าซคาร์บอนฯ (CCUS) จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายดังกล่าว” ศ.ดร.พิสุทธิ์ เผย
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) ระบุว่าชาติสมาชิกอาเซียนมีการใช้เทคโนโลยี CCS ใน 85% โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน และ 91% ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ไปจนถึงปี ค.ศ.2050 ดังนั้น การใช้เทคโนโลยี CCS จึงจำเป็นสำหรับประเทศที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน ปัจจุบัน มีการดำเนินโครงการ CCS หลายโครงการในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย ทั้งนี้ โครงการสาธิตเทคโนโลยี CCS ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและโอกาสทางธุรกิจด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่า โครงการสาธิตเทคโนโลยี CCS จะค่อยๆ เปลี่ยนผ่านสู่โครงการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปี ค.ศ. 2025 – 2030
โดยงาน SETA 2024 มีการจัดงานพร้อมกัน 7 งานภายใต้แนวคิดหลัก Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy การจัดงาน SETA 2024 และมีไฮไลท์ในเรื่องการใช้เทคโนโลยี CCUS และ Green Infrastructure เพื่อการ เข้าถึงคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ประกอบด้วยงานดังนี้
1.) งานแสดงพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (Sustainable Energy Technology Asia 2024 : SETA 2024)
2.) งานแสดงเทคโนโลยีแสงอาทิตย์และระบบการกักเก็บพลังงาน (Solar+Storage Asia 2024 : SSA 2024)
3.) งานยานยนต์อนาคตของเอเชีย(Sustainable Mobility Asia 2024 : SMA2024)
4.) งานฟอรั่มในระดับรัฐมนตรีและระดับผู้นำ ในภาคตะวันออกและอาเซียน The Fourth Asia CCUS Network Forum (ACNF#4) จัดภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งอาเซียน ERIA และ IEEJ ประเทศญี่ปุ่น
5.) งานประชุมวิชาการเรื่องเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ครั้งที่ 1 (The Thai Photovoltaic Science and Engineering Conference :Thai PVSEC-1) โดยคณะกรรมการ PVSEC-36 สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย และ SETA เพื่อสร้างเวทีนําเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ของ ประเทศไทย และการเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดงาน PVSEC ครั้งที่ 36 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
6.) Energy job fair : Energy Job Fair เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ค้นหางานที่น่าสนใจกว่า 5,000 ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน, พลังงาน CSR และเทคโนโลยี พร้อมด้วยกิจกรรมให้ความรู้อย่างและตัวช่วยในการสมัครงาน (Resume Clinic) จาก Jobsdb by SEEK และไฮไลท์ที่น่าสนใจอีกมากมาย
7.) Sustainable Day : Leave Your Carbon Behind, Not People. พื้นที่กิจกรรมและเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนในแง่มุมของธุรกิจกับความยั่งยืนว่า ในโลกที่เผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมหรือเศรษฐกิจก็ตาม กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยหรือมีความเปราะบางทางสังคมจะได้รับผลกระทบก่อนเป็นกลุ่มแรกเสมอ พื้นที่กิจกรรมนี้จึงตอกย้ำความตั้งใจที่ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถก้าวไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม และผู้คนในสังคมได้อย่างยั่งยืนโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งใครไว้ข้างหลัง
อีกหนึ่งเวทีที่น่าสนใจ คือ โครงการขับเคลื่อน มองไกล เพื่อชุมชนที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด (Empowering Communities: Engaging Citizens in Local Sustainability Initiatives) โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้นำในระดับท้องถิ่น จึงจัดทำโปรแกรมให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อการตระหนัก เรียนรู้ และการสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้จริง ในการใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อพลังงานสะอาด เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนไปพร้อมกับทุกภาคส่วนในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน SustainAsia Week 2024 ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ รวมกว่า 15,000 คน จาก 55 ประเทศทั่วโลก เปิดโอกาสให้เกิดการเจรจาขยายเครือข่ายทางธุรกิจ และแสดงศักยภาพของประเทศไทยในตลาดพลังงานเพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก
ติดตามความเคลื่อนไหว และไม่พลาดโอกาสเชื่อมต่อทางธุรกิจและความร่วมมือกับผู้นำด้านพลังงานและความยั่งยืนได้ที่เว็บไซต์ www.setaasia.com www.SolarStorageAsia.com และ www.sustainasiaweek.com ลงทะเบียนเข้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่คลิก: https://setaasia.com/registration/
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล : pr@gat.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น