วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

มสธ. มหาวิทยาลัยดิจิทัล “สะดวกเรียนสะดวกรู้”

 มสธ. มหาวิทยาลัยดิจิทัล “สะดวกเรียนสะดวกรู้”

 มสธ. ย้ำเตรียมยกระดับเพิ่มศักยภาพก้าวสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล “ขยายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา” สมัครเรียนได้ไม่ต้องสอบคัดเลือก เรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทันสมัย



เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงานเสวนาวิชาการ “พลิกโฉมการศึกษาไทย เทคโนโลยี โอกาส และอนาคตแห่งการเรียนรู้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาบูรณาการผสมผสานกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเตรียมพร้อมยกระดับศักยภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งยุคดิจิทัล ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีมาผสมสานกับหลักสูตรการศึกษาทางไกลในทุกระดับการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อีกทั้งได้นำเสนอวีดิทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย พร้อมประเด็นปัญหาทางการศึกษาไทยที่กำลังเผชิญอยู่ในยุคปัจจุบัน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมวงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสาระสำคัญทางรอดของการศึกษาไทยที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , คุณพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , คุณพงค์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เจ้าของเว็บไซต์ beartai และ ทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ ศิษย์เก่า และ นักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรระดับปริญญาเอกสาขาวิชานิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 




ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า “มสธ. ยืนยันความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์การศึกษาที่เท่าเทียมและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในยุคดิจิทัล” พร้อมเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในทั่วทุกมุมโลก มุ่งเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคนโดยไม่จำกัดสถานที่หรือเวลา



คุณพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยไทยจะต้องปรับตัวเพื่อสร้างบุคลากรสอดคล้องตามความต้องการของประเทศและโลก" อีกทั้ง อว. ได้กำหนดแผนพัฒนาการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยให้ความสำคัญกับการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ (Super Aging Society) และส่งเสริมการเรียนรู้แบบ non-degree เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคคลในยุคที่ความรู้และทักษะต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยไทยในยุคใหม่ เพื่อให้การศึกษาไทยตอบโจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ



คุณพงค์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เจ้าของเว็บไซต์ beartai กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังสร้างผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทุกมิติของชีวิตมนุษย์ ทั้งในด้านการศึกษา การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านบวกและความเสี่ยง เช่น การพึ่งพามากเกินไป หรือการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล จะช่วยให้เทคโนโลยีนี้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สร้างสรรค์และยั่งยืนสำหรับอนาคตของประเทศไทย



ทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ ศิษย์เก่า และ นักศึกษาปัจจุบันในระดับปริญญาเอกสาขาวิชานิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า แม้ AI จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง แต่ยังขาดจริยธรรม จรรยาบรรณ และจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ "AI เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความสะดวก แต่สิ่งที่ AI ทำให้ไม่ได้ คือ การมีศีลธรรมและความเมตตา ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องฝึกฝนและพัฒนาเอง" AI สามารถช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมาก แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของมนุษย์ โดยเฉพาะการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับผู้เรียนในยุคดิจิทัล




มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดสอนตั้งแต่ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีแผนการศึกษาให้เลือกเรียนหลากหลายรูปแบบที่ยืดหยุ่นตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน 

สนใจสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่ https://apply.stou.ac.th



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

‘พิพัฒน์‘ เริ่มแผนพัฒนาฝีมือแรงงานไทยปี68-70 ระดมทุกภาคอุตสาหกรรม เคลื่อนการพัฒนาคน รองรับนิวเทคโนโลยี ทันต่อการแข่งขันตลาดโลก

   ‘พิพัฒน์‘ เริ่มแผนพัฒนาฝีมือแรงงานไทยปี68-70 ระดมทุกภาคอุตสาหกรรม เคลื่อนการพัฒนาคน รองรับนิวเทคโนโลยี ทันต่อการแข่งขันตลาดโลก วันที่ 10 ...