วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สุชาติ” เผยลู่ทาง “นำเข้า สินค้าไทยสู่ ตลาดยูเออี” ดันสินค้าชุมชน ประกาศศักดา Soft Power ไทย

 “สุชาติ” เผยลู่ทาง “นำเข้า สินค้าไทยสู่

ตลาดยูเออี” ดันสินค้าชุมชน ประกาศศักดา Soft Power ไทย

รมช.สุชาติ ชมกลิ่น เยือนเมืองดูไบ พบผู้นำเข้าสินค้าไทยรายใหญ่ในยูเออี ผลักดันเพิ่มการนำเข้าสินค้าไทย โดยเฉพาะจาก SME หรือสินค้าชุมชน โชว์สินค้ามีคุณภาพ มาตรฐาน ถูกใจแน่นอน และพร้อมนัดหมายให้มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจกันต่อไป




เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. (เวลาท้องถิ่นดูไบ) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเยี่ยมชมโกดังของบริษัท Modhvadia  General Trading TTC โดยได้หารือกับ Mr.BoB Modhvadia กรรมการผู้จัดการ บริษัท Modhvadia General Trading TTC และ คุณจิตรทิวัส จิตรบรรเทา ฝ่ายการตลาดของบริษัท ว่า “ ผมได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ปฎิบัติภารกิจ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยวันนี้ผมได้มาเยี่ยมชมคลังสินค้าของบริษัท Modhvadia ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและกระจายสินค้าอาหารไทยรายใหญ่ที่สุดในยูเออี โดยนำเข้าสินค้าหลากหลายชนิด ได้แก่ ข้าว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องแกง ซอสปรุงรส น้ำปลา กะทิ น้ำปลาร้า ขนม และอุปกรณ์เครื่องครัว เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นอาหารแห้ง แต่บริษัทก็รับนำเข้าผักและผลไม้สดตามออเดอร์ของลูกค้าโดยจะนำเข้ามายังดูไบสัปดาห์ละสองวัน คือ วันอาทิตย์และวันพุธ 



นายสุชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ”ได้ใช้โอกาสนี้ ผลักดันให้บริษัทนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจาก SME โดยจากการที่ได้พูดคุยกับ Mr.BoB ทราบว่ายังมีความต้องการสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตโดยชาวบ้านในชุมชน ผมจึงได้เสนอสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างเช่น สินค้า OTOP ของไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปิดตลาดของสินค้าชุมชนอีกตลาดหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าชุมชนไทยโดยเฉพาะสินค้า Soft Power ของไทยตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร


นอกจากนี้ สินค้าไทยที่มีการส่งออกมา จะได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark หรือ T Mark คือ ตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการที่ออกโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับสากล


นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเสริมว่า “โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในยูเออี พร้อมที่จะช่วย เป็นพี่เลี้ยง ประสานและนัดหมายให้มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการของไทยที่ผลิตสินค้าตามที่บริษัทต้องการ โดยยืนยันว่าสินค้าไทย มีคุณภาพ มาตรฐานตรงตามที่บริษัทต้องการแน่นอน”


ทั้งนี้ สินค้าไทยที่บริษัทนำเข้ามานั้น จะมีทั้งขายปลีกให้แก่ลูกค้าทั่วไป ลูกค้าที่เป็นร้านอาหารและโรงแรมในดูไบและรัฐใกล้เคียง ตลอดจนมีการขายส่งผ่าน Distributor เพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศใกล้เคียงอื่นๆ เช่น โอมาน บาห์เรน และกาตาร์ อีกด้วย โดยลูกค้าหลักของบริษัทคือร้านขายของชำสินค้าไทย (Thai Grocery) และร้านอาหารไทย


ในช่วง 9 เดือน ปี 2567 (ม.ค.- ก.ย.) สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 569.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 212.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (181.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 179.06 ล้านเหรียญสหรัฐ และอัญมณีและเครื่องประดับ 177.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น โดยสินค้าอาหารที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 52.52% ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 24.71% เครื่องดื่ม เพิ่ม 15.37% ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่ม 16,186.70% ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง เพิ่ม 82.14% และ น้ำตาลทราย เพิ่ม 287.61% เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thai SCP ร่วมกับ ภาครัฐเอกชน ประชาสังคม จัดประชุมวิชาการ หนุนการผลิตและการบริโภคยั่งยืน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ

  Thai SCP ร่วมกับ ภาครัฐเอกชน ประชาสังคม  จัดประชุมวิชาการ หนุนการผลิตและการบริโภคยั่งยืน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ กรุงเทพฯ –  เครือข่ายส่งเสริมก...