วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568

เปิดตัว "Event Think Tank" แพลตฟอร์ม Community ออนไลน์แห่งใหม่​ ผลักดันไทยสู่การเป็น Festival Country พร้อมสร้าง Soft Power

 เปิดตัว "Event Think Tank" แพลตฟอร์ม Community ออนไลน์แห่งใหม่​ ผลักดันไทยสู่การเป็น Festival Country พร้อมสร้าง Soft Power 

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้เปิดตัว “Event Think Tank” แพลตฟอร์ม Community ออนไลน์ใหม่ล่าสุด ที่มุ่งพัฒนาบุคลากรและสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) สำหรับอุตสาหกรรมเทศกาลไทย พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น Festival Country ระดับโลก และสร้างเศรษฐกิจเทศกาล (Festival Economy) ที่แข็งแกร่ง โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2570 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ในภาพรวม จะสร้างเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจทุกภาคส่วนได้ประมาณ 10 ล้านล้านบาท ด้วยผู้ที่ผ่านการ Upskill ด้านซอฟต์พาวเวอร์กว่า 20 ล้านคน


"Event Think Tank" เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขยายผลนโยบาย OFOS (One Family One Soft Power)  ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรในทุกครัวเรือน ไปสู่การปฏิบัติจริง  ผ่านการ Upskill และ Reskill บุคลากรในอุตสาหกรรมเทศกาลและไมซ์ เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ที่ทันสมัย รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในระดับสากล และวางรากฐานของระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่สมบูรณ์ โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลผู้จัดงานเทศกาล ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายมืออาชีพอิสระ (Freelancer) พร้อมทั้งสร้าง Online Community สำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานเทศกาลไทยให้สามารถแข่งขันในระดับโลก ซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมเทศกาลไทยให้เป็น Soft Power ที่ทรงพลังในระดับโลก สร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน กระจายรายได้สู่ชุมชน และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับประเทศไทยในสายตาของประชาคมโลก 

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กล่าวเพิ่มเติมว่า "งานเทศกาลไทย ถือเป็น Soft Power ที่ทรงพลัง เป็นเครื่องมือสำคัญที่ไม่เพียงแค่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ยังเผยแพร่วัฒนธรรม วิถึชีวิต และศิลปะของไทยสู่สายตาชาวโลก นอกจากนี้ เศรษฐกิจเทศกาล หรือ Festival Economy คือ กลไกช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชน และสร้าง National Branding ที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย โดยโครงการ Event Think Tank นี้จะช่วยผลักดัน Soft Power ไทยในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านงานเทศกาล ผ่านการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP)  จากงานเทศกาลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เทศกาลสงกรานต์ และงานดอกไม้เชียงใหม่ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเพิ่มความได้เปรียบของไทยในตลาดโลกได้"


นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหรรมด้านเฟสติวัล ซอฟต์พาวเวอร์ด้านเทศกาล กล่าวเสริมว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเฟสติวัล    ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “Thailand as  The World's BEST Festival Country” สร้างต้นแบบการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ  สมาคมต่างๆ และภาคเอกชนเพื่อสร้าง ECOSYSTEM ในการผลักดันงานเทศกาลของไทยสู่เวทีโลก  สร้างหลักสูตรยกระดับความเป็นมืออาชีพให้บุคคลากรในอุตสาหกรรมผู้จัดงานเทศกาล ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายอันดับหนึ่งในใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  

Soft Power ด้านงานเทศกาลมีศักยภาพมหาศาลในการสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคม   ครอบคลุมตั้งแต่การดึงดูดนักท่องเที่ยว  การสร้างโอกาสการจ้างงานไปจนถึงการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน 77 จังหวัดทั่วประเทศ Event Think Tank จะเป็นศูนย์กลางในการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ครบวงจรสำหรับอุตสาหกรรมเทศกาล โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น การพัฒนาฐานข้อมูลผู้จัดงาน  สร้างเครือข่ายมืออาชีพอิสระ (Freelancer) ไปจนถึงการเปิดพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ Online Community นอกจากนี้ยังเน้นการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนเทศกาลไทยให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เทศกาลไทยมีความโดดเด่นมากขึ้น ชนะใจคนทั่วโลก ตลอดจนสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ อาทิ การดึงดูดผู้ประกอบการต่างชาติให้ซื้อลิขสิทธิ์เทศกาลไทยไปจัดที่ประเทศของตน โดยภาคเอกชนพร้อมสนับสนุน และร่วมมือกับทีเส็บอย่างเต็มที่ เพื่อให้เทศกาลไทยเป็นที่กล่าวขวัญถึงทั่วโลก

คุณจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินโครงการ Upskill บุคลากรเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์เทศกาลที่เชิดชู Soft Power ไทยในสาขาเฟสติวัล เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของงานเทศกาลในฐานะตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจว่า "ประเทศไทยเริ่มต้นเดินหน้าสู่การเป็น Festival Destination มาตั้งแต่ปี 2562 โดยทีเส็บได้ริเริ่มแนวคิด Festival Economy เพื่อสร้างเศรษฐกิจเมืองด้วยงานเทศกาลและอีเวนต์ของไทย เราเชื่อว่าบุคลากรคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน Soft Power การพัฒนางานเทศกาลให้ได้มาตรฐานระดับโลก การ Upskill และ Reskill   ผ่าน Event Think Tank จะช่วยเสริมทักษะและความรู้ที่ทันสมัยให้กับผู้จัดงานและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม กิจกรรมของโครงการครอบคลุมการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ที่เจาะลึกการออกแบบงานเทศกาล การสัมมนา (Seminar) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างมืออาชีพ และกิจกรรม Networking เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการและเครือข่ายในอุตสาหกรรมเทศกาลทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ทีเส็บตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลและอีเวนต์ รวมถึงเครือข่ายมืออาชีพอิสระ (Freelancer) รวมกว่า 450 ราย ทีเส็บพร้อมเป็นพันธมิตรหลักในการผลักดัน Creative Economy ของประเทศไทย และเรามั่นใจว่า “Event Think Tank” จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” 

ติดตามข่าวสาร และ กิจกรรม ของ Event Think Tank ได้ที่: 

https://www.facebook.com/EventThinkTank

………………………………..…………

กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ “เครื่องถมนครศรี” แห่งแรกในไทย

 กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ “เครื่องถมนครศรี” แห่งแรกในไทย

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาเครื่องถม ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แห่งแรกในประเทศไทย ส่งเสริมให้มีมาตรฐาน และยกระดับตามอัตราค่าจ้าง


นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตและได้รับความนิยมจนปัจจุบัน เนื่องจากสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ ลักษณะงานถมนคร จะมีสีดำเงางาม ลวดลายเกิดจากการสลักด้วยมือล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคาะ หรือแผ่รีด ทำให้ลวดลายมีความละเอียด จุดเด่นที่เห็นได้ชัดอยู่ที่ตัวยาถมซึ่งมีสีดำ ขึ้นเงา แวววาว มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ส่วนใหญ่จัดทำเป็นของใช้ เช่น แหวน กำไล ล็อกเกต มีด เครื่องเชี่ยน ขันพานรอง หีบลงยาตลับยานัตถุ์ ซองบุหรี่ ดาบฝักทอง เป็นต้น ปัจจุบันเนื่องจากทองและเงินมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับการทำต้องอาศัยเวลาและฝีมือชั้นสูง เครื่องถมนครจึงนิยมทำแบบดั้งเดิม ไม่ค่อยพัฒนารูปแบบและลวดลาย และการทำเครื่องถมนี้ต้องใช้ทักษะและความปราณีตเป็นอย่างมาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ส่งเสริมให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาช่างเครื่องถม  ประกอบกับวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช ได้เล็งเห็นความสำคัญในสาขาอาชีพนี้ จึงดำเนินการขออนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบฯ ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช นับได้ว่าเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างเครื่องถมแห่งแรกในประเทศไทย



นายเดชา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งนี้ ได้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพแฟชั่นและอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องถม ระดับ 1 ไปแล้ว โดยมีผู้ผ่านการทดสอบ จำนวน 11 คน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีความรู้ความสามารถ ทักษะฝีมือตรงกับความต้องการของนายจ้างและสถานประกอบกิจการ และได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน สำหรับสาขาดังกล่าวมีอัตราค่าจ้าง 670 บาทต่อวันตามที่ได้ประกาศไว้






ผู้ที่ประกอบอาชีพช่างเครื่องถมที่สนใจเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สามารถสมัคร หรือติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช เบอร์โทร 075-809583 หรือวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เบอร์โทร 075-846007 

อธิบดี พช. ชวนช้อป “OTOP ภูมิภาค 2568” OTOP ช้อปสนุก สุขทุกภาค ตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก 100 ล้าน !!

 อธิบดี พช. ชวนช้อป “OTOP ภูมิภาค 2568”   

OTOP ช้อปสนุก สุขทุกภาค ตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก 100 ล้าน !!

กรมการพัฒนาชุมชน(พช.) เตรียมจัดงาน“OTOP ภูมิภาค 2568” ครอบคลุม 5 จังหวัดทั่วไทย พบกับสุดยอดสินค้าภูมิปัญญาที่มีคุณภาพ และสินค้าที่บ่งบอกอัตลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการ OTOP ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย คาดสร้างรายได้รวม 100 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ ก.พ. ถึง พ.ค. 68

วันนี้ (31 มกราคม 2568) ณ กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ  นายสยาม ศิริมงคล  อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน  แถลงข่าวการจัดงาน  “OTOP ภูมิภาค 2568”  ภายใต้แนวคิด  “OTOP ช้อปสนุก สุขทุกภาค”  ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.อุดรธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.บุรีรัมย์ จ.เชียงใหม่ และ จ.พระนครศรีอยุธยา  


นายสยาม ศิริมงคล  อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้เตรียมความพร้อมจัดงาน “OTOP ภูมิภาค 2568” ใน 5 จังหวัด โดยเปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 3 - 5 ดาว จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ คัดสรรผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาที่มีคุณภาพ มาร่วมแสดงและจำหน่ายให้แก่ประชาชนทุกภูมิภาคได้ชมและเลือกซื้อในราคาพิเศษ จำนวนกว่า 300 ร้านค้า แบ่งเป็น  5 ประเภทผลิตภัณฑ์  ได้แก่ อาหาร/ เครื่องดื่ม / ผ้า เครื่องแต่งกาย / ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก / สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร   และ OTOP ชวนชิม ที่มีชื่อเสียงของแต่ละจังหวัด ยกทัพรวมพลกันมาจัดแสดงและจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดที่เป็นจุดจัดงาน ภายในเต็นท์โดมขนาดใหญ่ติดแอร์ตลอดงาน โดยในงานจะตกแต่งด้วยสีสันที่สดใส สนุกสนาน สะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค ที่ทำให้ผู้มาเยือนมีความสุขและสนุกกับการช้อป และเพลิดเพลินกับการชมกิจกรรมโชว์การสาธิตต่างๆ ซึ่งภายในงานแถลงข่าว ได้จัดให้มีกิจกรรมโชว์การสาธิตการย้อมเย็นด้วยสีธรรมชาติ จากดอกอัญชัน โดยกลุ่มดีเทล ชุมชนเครือข่ายทางวัฒนธรรมหนองไผ่ล้อม จ.นครราชสีมา และโชว์การสาธิตการปักผ้าลายวิธีถิ่นล้านนา  โดยกลุ่มแสงแก้วล้านนา จ.ลำพูน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศในการช้อป และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนมากขึ้น ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน

สำหรับการจัดงาน “OTOP ภูมิภาค 2568”  กำหนดจัดงานรวม 5 ครั้งๆ ละ 7 วัน ใน 5 จังหวัด ได้แก่ ครั้งที่ 1 : วันที่ 6 -12 กุมภาพันธ์ ณ  สนามทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี /ครั้งที่ 2 : วันที่ 15 - 21 กุมภาพันธ์  ณ ลานจอดรถ หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช / ครั้งที่ 3 : วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม  ณ  สนามช้างอารีน่า จ.บุรีรัมย์  ครั้งที่ 4 : วันที่ 10 - 16 มีนาคม ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษา จ. เชียงใหม่ และครั้งที่ 5 : วันที่ 1 – 7 พฤษภาคม ณ ลานข้างวัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยการจัดงานทั้ง 5 ครั้ง ตั้งเป้ายอดจำหน่ายภายในงานรวม 100 ล้านบาท 

ภายในงาน นอกจากจะพบกับผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้ง 5 ประเภท และ OTOP ชวนชิมที่มีชื่อเสียงของแต่ละจังหวัดแล้ว ยังมีการสาธิตและจัดแสดงกระบวนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความโดดเด่น เพื่อเพิ่มเสน่ห์ ดึงดูดความสนใจ ให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP การแสดงศิลปวัฒนธรรม การแสดงจากเยาวชนในจังหวัด รวมถึงการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากเหล่าศิลปินนักร้อง  และกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น สินค้าดีนาทีทอง  สินค้าโปรโมชั่น ที่สำคัญผู้ที่มาร่วมช้อป ชม ชิม กับกิจกรรมภายในงาน สามารถลุ้นรับโชคกับรางวัล GIFT VOUCHER ในทุกวัน และรางวัลใหญ่ ในวันสุดท้ายของการจัดงาน รวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท อีกด้วย

โอกาสนี้ อยากขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสนับสนุน และเป็นกำลังใจให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้วยการอุดหนุนสินค้าในงาน OTOP ภูมิภาค ที่จะจัดขึ้นทั้ง 5 จังหวัดในเร็ว ๆ นี้ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไปนะครับ“ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าวทิ้งท้าย

**********************************************

กรมทะเลเผยข่าวดี พบเต่าขึ้นวางไข่ฝั่งทะเลอ่าวไทย

 กรมทะเลเผยข่าวดี พบเต่าขึ้นวางไข่ฝั่งทะเลอ่าวไทย


     วันที่ 31 มกราคม 2568 ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ได้รับ รายงานจากกลุ่มสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลางว่าได้รับแจ้งจากเครือข่ายในพื้นที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร​ ว่าพบรอยเต่าทะเลบริเวณชายหาดสะพลี ม.5 ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร จึงได้เข้าตรวจสอบ พบเป็นเต่ากระขึ้นวางไข่


โดยพบไข่ จำนวน 177 ฟอง และเมื่อสำรวจบริเวณรอบรังไข่เต่า พบอยู่ใกล้แนวน้ำขึ้น-ลง มีความเสี่ยงต่อน้ำทะเลท่วมถึง จึงได้ดำเนินการย้ายไข่เต่า


มายังบริเวณรังไข่เต่าทะเลที่ 1 ที่เคยขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568 ทั้งนี้ได้ประสานกับเครือข่ายในการติดตามและเฝ้าระวังเต่าทะเลขึ้นวางไข่บริเวณหาดสะพลีต่อไป


ทส. ยกระดับการจัดการขยะทะเล และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล มอบ กรมทะเล ร่วมมือภาคีเครือข่ายSCGC ร่วมบริหารจัดการปัญหาขยะทะเลด้วยนวัตกรรมใหม่ “ทุ่นดักขยะ SCGC - DMCR Litter Trap Gen 3”

 ทส. ยกระดับการจัดการขยะทะเล และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล มอบ กรมทะเล ร่วมมือภาคีเครือข่ายSCGC ร่วมบริหารจัดการปัญหาขยะทะเลด้วยนวัตกรรมใหม่ “ทุ่นดักขยะ SCGC - DMCR Litter Trap Gen 3


ปัญหาขยะทะเล เป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไข โดยจะเห็นได้จากในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก (พ.ศ 2558) มาเป็นอันดับที่ 10 (พ.ศ. 2564) แม้ว่าสถานการณ์ขยะทะเลจะดีขึ้น แต่ก็ยังต้องมีการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างต่อเนื่อง 

ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวถึงสถานการณ์ขยะทะเลว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังและเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เห็นได้จากการจัดอันดับการปล่อยขยะทะเลที่ลดน้อยลง แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการขยะทะเลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีในการแก้ไขปัญหาขยะทะเลของประเทศไทย ในปัจจุบันหน่วยงานหลายภาคส่วนได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกตามแนว Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 2561 – 2573) และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งเป็นกรอบนโยบายการบริหารและกรอบทิศทางสำหรับขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและการจัดการขยะพลาสติกของประเทศร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้เกิดความต่อเนื่องและยกระดับการจัดการให้สอดรับกับสภาพปัญหา โดยในปี 2566 คาดว่ามีปริมาณขยะที่จัดการไม่ถูกต้อง และทำให้เกิดขยะทะเลประมาณ 34,000 -51,000 ตัน ซึ่งเป็นขยะพลาสติกประมาณ 4,000-6,000 ตัน การแก้ไขปัญหาขยะทะเลอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นที่จะต้องลดปริมาณขยะจากต้นทาง รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การคัดแยก การทิ้ง การขนส่ง ไปจนถึงการกำจัด ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะที่รั่วไหลลงสู่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งลดลง เพราะแหล่งที่มาของขยะทะเลที่แท้จริงมาจากบนบกสูงถึงร้อยละ 80 

ดร. เฉลิมชัย กล่าวต่ออีกว่า การขยายความรับผิดชอบไปยังผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) ซึ่งเป็นหลักการที่ขยายความรับผิดชอบไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวทางให้ผู้ผลิตคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ กระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ จะช่วยให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น และปรับการใช้วัสดุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำหลักการเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งเป็นการนำขยะพลาสติกที่เก็บได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล จะทำให้การแก้ไขปัญหาขยะทะเลเกิดความยั่งยืน

ด้าน ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวหลังจากรับมอบทุ่นดักขยะลอยน้ำ รุ่นที่ 3 (SCGC-DMCR Litter Trap) จากคุณน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์และกิจการเพื่อสังคม พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) ณ โถงหน้าห้องประชุมลำแพน ชั้น 9 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568   ที่ผ่านมาว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับมอบทุ่นดักขยะลอยน้ำ จำนวน 25 ชุด เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมเก็บขยะในแม่น้ำลำคลอง ภายใต้โครงการบริหารจัดการขยะทะเลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต่อไป ทั้งนี้ SCGC-DMCR Litter Trap เป็นนวัตกรรมทุ่นดักขยะลอยน้ำที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ดักขยะในแม่น้ำลำคลองก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล ซึ่งปัจจุบันเป็นทุ่นดักขยะลอยน้ำ รุ่นที่ 3 มีคุณสมบัติเป็นพลาสติก HDPE เกรดพิเศษที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแสงแดด และสามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด ทุ่นรุ่นใหม่นี้มีน้ำหนักเบาลงกว่าร้อยละ 50 เพื่อการขนส่งและติดตั้งที่สะดวกรวดเร็วขึ้น รองรับน้ำหนักขยะได้มากถึง 700 กิโลกรัมต่อตัว พร้อมอายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งทุ่นดักขยะบริเวณปากแม่น้ำและลำคลองในพื้นที่ 17 จังหวัด สามารถลดปริมาณขยะที่ไหลลงทะเลได้กว่า 90 ตัน ตั้งแต่ปี 2563 อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและป้องกันมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล 





   อย่างไรก็ดี การพัฒนานวัตกรรมทุ่นดักขยะลอยน้ำระหว่างกรมฯ กับ SCGC เป็นไปตามหลักการของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ คือเป็นภาครัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเห็นผลเป็นรูปธรรม รวมถึงยังช่วยสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติกต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้กับประชาชนในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การขยายเครือข่ายอนุรักษ์ที่มีความเข้มแข็ง และการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างยั่งยืน “ดร.ปิ่นสักก์ กล่าว”


สกศ. ระดมสรรพกำลัง เร่ง “แผนการศึกษาชาติ เรือธงของสภาการศึกษา”

 สกศ. ระดมสรรพกำลัง เร่ง “แผนการศึกษาชาติ  เรือธงของสภาการศึกษา”

วันที่ 31 มกราคม 2568 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....” โดยมี ดร.นิติ นาชิต รองเลขาธิการสภาการศึกษา นางอำภา พรหมวาทย์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องพาร์ควิว ชั้น 6 โรงแรมเวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพมหานคร 

รศ.ดร.ประวิต กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ว่า เพื่อให้ทุกสำนักภายใน สกศ. ร่วมกันบูรณาการองค์ความรู้ พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะประเด็นที่เกี่ยวข้องจากร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่เสนอโดยคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา 

รศ.ดร.ประวิต แบ่งความเป็นมาและวิวัฒนาการของแผนการศึกษาแห่งชาติตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็น 2 ช่วง 1) ก่อนปี พ.ศ. 2542 มีแผนจำนวน 4 ฉบับ ได้ประกาศเป็นพระราชโองการส่งผลต่อการบังคับใช้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา มีเนื้อหาสั้น กระชับ และไม่ซับซ้อน มีความชัดเจนในแนวคิด ง่ายต่อการจดจำ และไม่มีการระบุเวลาที่สิ้นสุด ไม่ต้องฉายภาพอนาคตระยะไกล 2) ประกาศใช้หลังปี พ.ศ. 2542 มีการประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เนื้อหาส่วนใหญ่ในแผนจะแสดงสภาวการณ์และผลการพัฒนาการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา มีการกำหนดแนวนโยบาย เป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทางการพัฒนา และหน่วยงานรับผิดชอบแบบกว้าง นอกจากนี้ยังกำหนดวิธีการขับเคลื่อนและบริหารแผนสู่การปฏิบัติ การติดตาม การประเมินผล และปัจจัยความสำเร็จ เพื่อให้ที่ประชุมเข้าใจเห็นภาพเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลกสู่การพัฒนาร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ที่ประชุมร่วมกันอภิปรายประเด็นวิวัฒนาการของแผนการศึกษาชาติและมุมมองต่อไปในอนาคต

ที่ประชุมร่วมกันอภิปรายถึงร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ว่าควรมีเจตนารมณ์ในการชี้ทิศการศึกษาของประเทศ ควรมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ เพื่อเป็นฐานพลังขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติไปพร้อมกันอย่างสมดุล ควรมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการและความมุ่งหมาย 2) ระบบการศึกษา 3) แนวนโยบายการศึกษา 4) แนวทางการพัฒนาการศึกษา 5) แนวทางการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ให้เกิดผลกระทบเป็นที่รับรู้ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้การกำหนดผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Ultimate Outcome) ต้องให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่แท้จริงซึ่งจำเป็นต้องอ้างอิงข้อมูลเชิงสถิติและเชิงประจักษ์ สุดท้าย ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าการดำเนินงานจำเป็นต้องบูรณาการองค์ความรู้ของแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันร่างแผนการศึกษา สร้างสรรค์กลยุทธ์ ตรวจสอบความเหมาะสม และประเมินผลอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด


การประชุมครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการดำเนินงานของ สกศ. เพื่อร่วมกำหนดทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและโลก ให้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทยอย่างแท้จริงด้วยความร่วมมือและข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “องค์กรคลังปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยองค์ความรู้” เพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ในทุกมิติผ่านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ “เครื่องถมนครศรี” แห่งแรกในไทย

 กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ “เครื่องถมนครศรี” แห่งแรกในไทย

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาเครื่องถม ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แห่งแรกในประเทศไทย ส่งเสริมให้มีมาตรฐาน และยกระดับตามอัตราค่าจ้าง


นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตและได้รับความนิยมจนปัจจุบัน เนื่องจากสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ ลักษณะงานถมนคร จะมีสีดำเงางาม ลวดลายเกิดจากการสลักด้วยมือล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคาะ หรือแผ่รีด ทำให้ลวดลายมีความละเอียด จุดเด่นที่เห็นได้ชัดอยู่ที่ตัวยาถมซึ่งมีสีดำ ขึ้นเงา แวววาว มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ส่วนใหญ่จัดทำเป็นของใช้ เช่น แหวน กำไล ล็อกเกต มีด เครื่องเชี่ยน ขันพานรอง หีบลงยาตลับยานัตถุ์ ซองบุหรี่ ดาบฝักทอง เป็นต้น ปัจจุบันเนื่องจากทองและเงินมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับการทำต้องอาศัยเวลาและฝีมือชั้นสูง เครื่องถมนครจึงนิยมทำแบบดั้งเดิม ไม่ค่อยพัฒนารูปแบบและลวดลาย และการทำเครื่องถมนี้ต้องใช้ทักษะและความปราณีตเป็นอย่างมาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ส่งเสริมให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาช่างเครื่องถม  ประกอบกับวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช ได้เล็งเห็นความสำคัญในสาขาอาชีพนี้ จึงดำเนินการขออนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบฯ ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช นับได้ว่าเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างเครื่องถมแห่งแรกในประเทศไทย



นายเดชา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งนี้ ได้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพแฟชั่นและอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องถม ระดับ 1 ไปแล้ว โดยมีผู้ผ่านการทดสอบ จำนวน 11 คน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีความรู้ความสามารถ ทักษะฝีมือตรงกับความต้องการของนายจ้างและสถานประกอบกิจการ และได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน สำหรับสาขาดังกล่าวมีอัตราค่าจ้าง 670 บาทต่อวันตามที่ได้ประกาศไว้






ผู้ที่ประกอบอาชีพช่างเครื่องถมที่สนใจเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สามารถสมัคร หรือติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช เบอร์โทร 075-809583 หรือวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เบอร์โทร 075-846007 

เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้าง อย. หลอกเก็บเงินผู้ได้รับรางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด

  เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้าง อย. หลอกเก็บเงินผู้ได้รับรางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด อย. เตือนผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด อย่...