วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568

กรมทะเล จับมือ มิสทิน เดินหน้าสานต่อ mou ยกเลิกใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดด รักษาแนวปะการัง - สิ่งแวดล้อมทางทะเล

 กรมทะเล จับมือ มิสทิน เดินหน้าสานต่อ mou ยกเลิกใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดด รักษาแนวปะการัง - สิ่งแวดล้อมทางทะเล 

     วันที่ 14 มกราคม 2568 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางมิสทิน จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดด เพื่อรักษาแนวปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยมีดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธาน โอกาสนี้ คุณปราการ สท้านโยธิน กรรมการผู้จัดการบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในหัวข้อ “ผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดด เพื่อรักษาแนวปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเล” ในการนี้ นายปรานต์ ดิลกคุณากุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ พร้อมกันนี้ได้มีคณะผู้บริหารจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ มิสทิน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมลำแพน ชั้น 9 กรม ทช.


     ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ปัจจุบันแนวปะการังของประเทศไทยอยู่ในสภาพเสียหายและเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการท่องเที่ยวทางทะเล โดยเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำดูปะการัง ไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำตื้นและการดำน้ำลึก ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อแนวปะการังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำลายระบบนิเวศทางทะเลและทรัพยากรปะการัง ซึ่งทุกคนอาจจะมองเป็นเรื่องปกติของการใช้ครีมกันแดดลงเล่นน้ำหรือทำกิจกรรมดำน้ำ แต่ในงานวิจัยชี้ว่าสารเคมีในครีมกันแดดส่งผลกระทบต่อปะการังจริง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดกับทรัพยากรปะการัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการสงวน คุ้มครอง ดูแล รักษา อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปะการังของประเทศไทย ได้หารือกับบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางมิสทิน โดยที่ผ่านมากรมทะเลได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดด เพื่อรักษาแนวปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2565 จวบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ กรมทะเล และบริษัท มิสทิน ได้ดำเนินงานร่วมกันจัดทำกิจกรรมที่จะขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูปะการังเพื่อสร้างระบบนิเวศท้องทะเลไทยให้สวยงามและที่สำคัญผลิตภัณฑ์กันแดดของมิสทินปราศจากสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายต่อปะการัง และในวันนี้ นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทั้งสององค์กรจะเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดด เพื่อรักษาแนวปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเลขึ้นอีกครั้ง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ไม่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง ได้แก่ ออกซีเบนโซน หรือเบนโซฟีนอล-3 (Oxybenzone (หรือ Benzophenone-3 (BP-3), ออกทินนอกเซต หรือเอทิลเฮกซิล เม็ทท๊อกซ์ซี่ซินาเมท (Octinoxate (หรือ hylhexyl methoxycinnamate),4-เมทิลเบนซิลิดแคมเฟอะ (4-Methylbenzylid Camphor.(4MBC) และบิวธิวพาราเบน (Butylparaben) โดยกรมทะเล ยินดีจะให้การสนับสนุนและอนุญาตให้บริษัทมิสทิน นำข้อความชื่อ หรือเครื่องหมายของกรมทะเลไปใช้กับผลิตภัณฑ์กันแดดที่ไม่มีสารเคมีต้องห้าม รวมทั้งการนำไปใช้ในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์กันแดดสูตรดังกล่าวไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง ตามที่กรมทะเลได้ประกาศห้าม และส่งเสริม สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อปะการังและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ฉลากผลิตภัณฑ์ กล่องบรรจุภัณฑ์ และใบกำกับผลิตภัณฑ์ ที่กรมทะเลอนุญาตให้ใช้ข้อความชื่อ หรือเครื่องหมายกรมทะเลจะต้องระบุข้อความว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ปราศจากส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังทั้ง 4 ชนิด” และให้ระบุชื่อของสารเคมีที่ห้ามใช้ให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคทราบอย่างน้อยหนึ่งแห่งในผลิตภัณฑ์


     สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ ได้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ลงนามเป็นต้นไป ในส่วนการใช้ข้อความชื่อ หรือเครื่องหมายกรมทะเลให้พิจารณาทบทวนการใช้ทุกๆ 3 ปี นับแต่วันที่อนุญาต และเพื่อเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการกรมทะเลได้มอบหมายให้กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำและดำเนินโครงการรวมทั้งติดต่อประสานงานกับบริษัท มิสทิน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และในนามกรมทะเล ต้องขอขอบคุณบริษัท มิสทิน ที่ให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์กันแดด ป้ายประชาสัมพันธ์ข้อปฏิบัติในการท่องเที่ยวทางทะเล และดำน้ำบริเวณแนวปะการัง 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และเสื้อปฏิบัติการดำน้ำ ซึ่งหลังจากลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่แล้วเสร็จ กรมทะเลจะเดินหน้าสานต่อเจตนารมณ์เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันต่อไป “ดร.ปิ่นสักก์ อทช. กล่าวทิ้งท้าย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ .. "หนึ่งปีมีครั้งเดียว"

  ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ..   "หนึ่งปีมีครั้งเดียว"   มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอเชิญชวนสาธุชน ทานสาคูสิริมงคล ทำบุญสะเดาะเคราะห์(พะ...